108713 จำนวนผู้เข้าชม |
หลังคลอดกินเค้กได้ไหม? ขนมที่ใส่กะทิล่ะ? ข้าวเหนียวมะม่วงก็น่าอร่อย กินได้ไหม? ทั้งหมดคงเป็นคำถามคาใจของแม่ลูกอ่อนหลายท่าน หลังวุ่นวายกับการดูแลลูกน้อย คุณแม่คงต้องการช่วงเวลาพักผ่อนหย่อนใจเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการรับประทานของหวาน แต่แล้วก็กังวลว่า ถ้ารับประทานเข้าไปแล้วจะส่งผลกับร่างกายที่กำลังพักฟื้นหลังคลอด หรือส่งผลกับการให้นม จึงต้องการทราบว่า ของหวานแบบใดที่รับประทานได้ แบบใดที่ควรเลี่ยงไปก่อน
เพราะเราเชื่อว่า การรับประทานของหวานช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเลี้ยงดูลูกน้อย ซึ่งสำคัญไม่ต่างจากการเลี้ยงดูลูกน้อยให้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง วันนี้ ทีมงาน CKKEQUIPMED จึงรวบรวมข้อมูลแนวทางต่างๆ ในการรับประทานของหวานของคุณแม่ลูกอ่อนมาไว้ในบทความนี้ เชิญติดตามกันเลยนะคะ
(ขอบคุณภาพจาก Lama Roscu)
จะดีกว่าถ้าลดหรือเลี่ยงน้ำตาลได้นะคะ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรักโตส เพราะมีงานวิจัยที่เสนอว่า น้ำตาลฟรักโตส (หรือฟรุกโตส) ที่อยู่ในน้ำผึ้ง ผักผลไม้บางชนิด และใช้ปรุงแต่งอาหารและเครื่องดื่มแปรรูปต่างๆ เช่น น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว สามารถส่งผ่านจากร่างกายของแม่เข้าไปสู่น้ำนม น้ำตาลฟรักโตสที่ว่า ไม่เพียงเพิ่มน้ำหนักของทารก แต่ยังอาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และโรคอื่นๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
ดังนั้นหากเป็นไปได้ คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานของหวานที่มีน้ำตาลฟรักโตสปริมาณมาก โดยอาจดูจากฉลากสินค้าของของหวานว่ามี “ฟรักโตสไซรับ” หรือ “น้ำเชื่อมฟรักโตส” หรือไม่ ของหวานที่มักปรุงแต่งด้วยน้ำเชื่อมฟรักโตส หรือมีฟรักโตสในปริมาณมาก มีตัวอย่างดังนี้ค่ะ
นอกจากนี้ ของหวานที่ดูจะไม่ใส่น้ำตาล ผู้ผลิตบางแห่งก็อาจปรุงแต่งด้วยน้ำเชื่อมฟรักโตสเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น โยเกิร์ตที่มีรสหวาน ขนมปัง ซีเรียล ของหวานเหล่านี้คุณแม่อาจต้องดูฉลากก่อนรับประทาน หรือหลีกเลี่ยงไม่รับประทานในปริมาณมากนะคะ
ส่วนผักผลไม้บางชนิดมีน้ำตาลฟรักโตสก็จริง แต่มักไม่ได้มีในปริมาณมาก จึงสามารถรับประทานได้ตามปกติค่ะ
(ขอบคุณภาพจาก Mink Mingle)
ปัญหาหนึ่งของคุณแม่ที่ให้นมลูกคืออาการที่เรียกว่า “ท่อน้ำนมอุดตัน” หรืออาการที่น้ำนมจับตัวเป็นก้อนและไม่ไหลออกจากเต้า อาการดังกล่าวอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปค่ะ ตัวอย่างของหวานที่มีไขมันมาก ก็คือ
คาเฟอีนส่งผ่านน้ำนม และอาจทำให้ลูกน้อยกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อย่างไรก็ตาม ถ้ารับประทานในปริมาณไม่มาก เช่น ดื่มกาแฟไม่เกินสองหรือสามแก้วในหนึ่งวัน ก็มักไม่มีผลใดกับลูกน้อย คุณแม่จึงสามารถรับประทานเครื่องดื่มและของหวานที่มีคาเฟอีนได้บ้าง แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปนะคะ
ตัวอย่างของหวานที่มีคาเฟอีน ก็คือของหวานที่มีไส้หรือหน้าเป็นช็อกโกแล็ต กาแฟ หรือชาค่ะ เช่น คุกกี้รสกาแฟ เค้กรสชา ช็อกโกแล็ตมูส โดนัตช็อกโกแล็ต
เด็กบางคนมีอาการแพ้นมวัว และแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว เช่น เนย โยเกิร์ต บางคนมีอาการแพ้ถั่ว ไข่ หรือข้าวโพด เพราะว่าอาหารที่คุณแม่รับประทานสามารถส่งผ่านน้ำนม ทำให้ทารกเกิดอาการแพ้ได้ คุณแม่อย่าลืมสังเกตอาการของทารกว่าแพ้อาหารประเภทใดหรือไม่และเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนั้นนะคะ
อย่างแรก คุณแม่อาจพิจารณาของหวานที่ “รอด” จากข้อควรระวังต่างๆ ข้างต้น ตัวอย่างเช่น มันต้มขิง หรือฟักทองนึ่ง (และหลายคนก็บอกว่าขนมทั้งสองชนิดช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้อีกด้วย) หรือคุณแม่อาจเบนไปรับประทานผักผลไม้สดแทน เช่น มะละกอ ผลไม้แห้งเองก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลอบแห้ง กล้วยตาก หรือลูกเกด
แต่ในทางกลับกัน คุณแม่ก็อาจรับประทานรับประทานของหวานทั่วไป (ยกเว้นของหวานที่มีส่วนประกอบที่ทำให้ทารกเกิดอาการแพ้ ควรเลี่ยงอย่างเด็ดขาดถ้าหากเป็นไปได้) แม้จะมีน้ำตาล ไขมัน หรือคาเฟอีนบ้างเล็กน้อย เพียงแต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก หรือรับประทานซ้ำไปซ้ำมาเท่านั้นเองค่ะ
และถ้าคุณแม่สงสัยต่อว่า หลังรับประทานของหวานแล้ว จะจิบเครื่องดื่มแบบไหนคลายกระหายดี? เครื่องดื่มแบบไหนเหมาะสำหรับแม่ลูกอ่อน หรือควรเลี่ยงไปก่อน? ทีมงาน CKKEQUIPMED ก็รวบรวมข้อมูลมาไว้แล้วนะคะ คุณแม่สามารถหาคำตอบได้ในบทความเครื่องดื่มสำหรับคุณแม่หลังคลอด หากให้นมอยู่ดื่มอะไรดี?
https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/breastfeeding-and-lifestyle/diet/
https://www.cdc.gov/breastfeeding/breastfeeding-special-circumstances/diet-and-micronutrients/maternal-diet.html
https://www.healthline.com/nutrition/20-foods-with-high-fructose-corn-syrup
https://news.usc.edu/117042/from-mother-to-baby-secondhand-sugars-can-pass-through-breast-milk/
https://www.scimath.org/article/item/4811-2016-07-13-02-56-53
https://www.verywellfamily.com/nutritional-needs-while-breastfeeding-431684
https://www.webmd.com/baby/milk-allergy-breastfeeding
https://unsplash.com/photos/Wpg3Qm0zaGk
https://unsplash.com/photos/LGNxQzYmeUk
https://unsplash.com/photos/RQ4TXxFaaZc
https://unsplash.com/photos/si4-pd-eeJs
** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด
สงวนสิทธิ์ทั้งบทความและภาพถ่าย ห้ามนำไปใช้ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปใช้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินดคีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด
วันที่เขียน 26 กุมภาพันธ์ 2564 เผยแพร่ผ่าน https://www.ckkequipmed.co.th วันที่ 16 มีนาคม 2564