2159 จำนวนผู้เข้าชม |
ในระยะนี้ ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งขึ้นสูงอีกครั้งในหลายจังหวัด ส่งผลกระทบกับสุขภาพชาวไทยจำนวนมาก เพราะเมื่อสูดดมเข้าไป ฝุ่น PM2.5 (ฝุ่นขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน) จะสามารถผ่านการคัดกรองของขนจมูกมนุษย์ จนเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือด และอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หรืออื่นๆ
ก่อนหน้านี้ ทีมงาน CKKEQUIPMED เคยเจาะลึกที่มาที่ไปและวิธีการรับมือป้องกันฝุ่นจิ๋วสำหรับคนทั่วไปในบทความ ฝุ่น PM2.5 มหันตภัยจิ๋วที่เราไม่ควรลืม แต่สำหรับเด็กในครรภ์และทารกที่อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบต่างๆ ในร่างกาย ฝุ่น PM2.5 อาจก่ออันตรายที่ผู้ปกครองต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
(ขอบคุณภาพจาก Hollie Santos)
ยิ่งหญิงตั้งครรภ์ได้รับฝุ่น PM2.5 มากขึ้นเท่าใด ลูกน้อยในครรภ์ก็จะเสี่ยงได้รับผลกระทบจากฝุ่นจิ๋วมากขึ้นตาม งานวิจัยพบว่า ฝุ่น PM2.5 อาจทำให้เด็กในครรภ์เผชิญปัญหาต่างๆ เช่น
ไม่เพียงเท่านี้ หลังคลอด ทารกก็เสี่ยงอันตรายไม่แพ้กัน เพราะระบบทางเดินหายใจและภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกจึงต้องหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่และสูดฝุ่น PM2.5 เข้าไปมากขึ้น ส่งผลกระทบกับสุขภาพระยะยาวของทารก ทั้งพัฒนาการทางระบบประสาท ทางการเคลื่อนไหว ทางอารมณ์ และเพิ่มความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ในอนาคต เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ ฝุ่น PM2.5 อาจทำให้สารที่มีประโยชน์บางชนิดในนมแม่ลดลง ส่งผลกับพัฒนาการของทารกเช่นเดียวกัน
(ขอบคุณภาพจาก Rosalia Ricotta)
แม้ว่าคนแต่ละคนไม่อาจหลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่นพิษอย่างสิ้นเชิงในยามที่ค่าฝุ่นในอากาศพุ่งสูง อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่เข้าสู่ร่างกายของเด็กในครรภ์ ทารก และหญิงมีครรภ์ได้บางส่วน คือ
เพราะภัยฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาที่คนแต่ละคนไม่สามารถแก้ไข ระงับ และป้องกันด้วยตนเองไปเสียทั้งหมดได้ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขในระดับสังคม เช่น ผ่านการออกนโยบายแก้ไขต้นตอของฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ในยามที่ปัญหายังไม่คลี่คลาย การลดปริมาณฝุ่นที่หญิงมีครรภ์และทารกสูดดมเข้าไป ย่อมลดความเสี่ยงที่ฝุ่นจะก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาวกับสุขภาพเช่นกัน
https://workpointtoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2528642/
https://aaqr.org/articles/aaqr-19-10-oa-0550
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6862650/
https://news.thaipbs.or.th/content/300111
https://www.sanook.com/health/14373/
http://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=245
https://www.thairath.co.th/news/society/1484598
https://mgronline.com/qol/detail/9620000006288
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjog/article/view/180546
https://unsplash.com/photos/aUtvHsu8Uzk
https://pixabay.com/images/id-5289513/
https://unsplash.com/photos/Z4GKcFAGck4
https://unsplash.com/photos/27t7HQwJTx4
** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด