3902 จำนวนผู้เข้าชม |
โอโซนอยู่ใกล้ตัวเรา และเป็นคำที่เราได้ยินกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะในข่าวสาร โฆษณา หรือบทความเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แต่หลายคนคงรู้สึกสงสัยว่าตกลงแล้ว โอโซนคืออะไร แตกต่างกับออกซิเจนอย่างไร โอโซนอันตรายไหม และอื่นๆ วันนี้ ทีมงาน CKKEQUIPMED จึงรวบรวมข้อสงสัยยอดฮิตมาไขคำตอบ
(ขอบคุณภาพจาก NASA)
ถึงแม้ว่าโอโซนกับออกซิเจนจะฟังดูคล้ายๆ กัน แต่ที่จริงคำทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันมาก
คำที่หลายคนคุ้นหูมากกว่าคงเป็นออกซิเจน ซึ่งเป็นทั้งธาตุทางเคมีประเภทหนึ่ง ธาตุออกซิเจนมักจะจับตัวเป็นคู่ (O2) และอยู่ในสภาพก๊าซ เป็นส่วนหนึ่งของอากาศรอบตัวเรา จึงเรียกว่า “ก๊าซออกซิเจน”
ก๊าซออกซิเจนไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรสชาติ แต่จำเป็นกับการดำรงชีพของมนุษย์ทุกคน เมื่อเราสูดออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย ออกซิเจนจะเข้าไปจับตัวกับเลือดที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย และช่วยให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายของเราทำงานต่อไปได้
ส่วนโอโซนคือธาตุออกซิเจนที่จับกันสามตัว (O3) และมักอยู่ในสภาพก๊าซเช่นกัน เพียงแต่ก๊าซโอโซนมักอยู่สองที่ คือ
โอโซนตรงข้ามกับออกซิเจนตรงที่โอโซนมีกลิ่นฉุนคล้ายๆ คลอรีน และร่างกายของมนุษย์ก็ไม่ได้ต้องการโอโซน เพราะโอโซนที่มีความเข้มข้นในระดับหนึ่งอาจเป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจได้ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการสูดดมโอโซน
(ขอบคุณภาพจาก Ralph (Ravi) Kayden)
ไม่ว่าจะบริสุทธิ์หรือไม่ โอโซนที่มีความเข้มข้นในระดับหนึ่งก็เป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นจึงไม่ควรสูดดมเข้าไป
แม้ว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ไปสูดโอโซนบริสุทธิ์” ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้พูดมักต้องการหมายความว่า “ไปสูดอากาศสดชื่นปราศจากมลพิษ” มากกว่าจะให้ไปสูดโอโซนจริงๆ ที่เป็นพิษ โอโซนเป็นก๊าซที่ไม่ควรสูดดมเข้าไปในปริมาณที่เกินมาตรฐานความปลอดภัย
หลายคนใช้เครื่องอบโอโซน เพราะเครื่องอบโอโซนจะปล่อยโอโซนออกมาช่วยกำจัดกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นควันบุหรี่ที่ฝังลึกในห้องนั้น รวมถึงเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดได้
แต่เพราะถ้าจะปล่อยโอโซนในปริมาณที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ในอากาศได้จริงๆ ก็ต้องปล่อยในปริมาณไม่ปลอดภัยที่มนุษย์จะสูดดมเข้าไป ดังนั้น เครื่องอบโอโซนจึงมักใช้ในพื้นที่ปิด และไม่ให้คน (รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์เลี้ยง) อยู่ในพื้นที่ที่มีการอบโอโซน รวมทั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้งาน
โอโซนสามารถสลายตัวได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือจัดการเพิ่มเติม แต่ก็ต้องให้เวลาโอโซนในการสลายตัวด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าใช้เครื่องอบโอโซน ก็อาจจะต้องตั้งเวลาปิดเครื่องไว้ แล้วทิ้งระยะเวลาสักพักหนึ่งก่อนเข้าไปในห้อง และอาจต้องเปิดพื้นที่ให้อากาศภายนอกไหลเวียนเข้าไปเจือจางโอโซนที่หลงเหลืออยู่ด้วย
ทีมงาน CKKEQUIPMED หวังว่าคำถามและคำตอบสี่ข้อนี้จะช่วยคลายข้อสงสัยสำหรับท่านผู้อ่านได้ แต่ถ้าท่านผู้อ่านยังสงสัยเพิ่มเกี่ยวกับเครื่องอบโอโซน หรือต้องการคำแนะนำสำหรับการใช้เครื่องอบโอโซน สามารถอ่านต่อในบทความ “อบโอโซนคืออะไร? 3 ข้อที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจอบโอโซน” และ “7 ข้อแนะนำสำหรับการอบโอโซน อบโอโซนอย่างไรให้ปลอดภัย” นะครับ
https://unsplash.com/photos/r_L2tH-45s4
https://unsplash.com/photos/Q1p7bh3SHj8
https://unsplash.com/photos/AhHICglxxx8
https://www.epa.gov/indoor-air-quality-iaq/ozone-generators-are-sold-air-cleaners
https://www.sanook.com/health/10341/
https://www.britannica.com/science/ozone
** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด
สงวนสิทธิ์ทั้งบทความและภาพถ่าย ห้ามนำไปใช้ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปใช้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินดคีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด
วันที่เขียน 23 เมษายน 2564 เผยแพร่ผ่าน https://www.ckkequipmed.co.th วันที่ 30 เมษายน 2564